เชียงราย

– เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้งานด้านเทคโนโลยีนั้นมีทั้งผลดี และผลเสีย ทุกอย่างต้องมี 2ด้านที่ควบคู่กันไป ดังนั้นเราก็เช่นกัน หากการได้มาซึ่งความรู้ และความเข้าใจ ต้องใช้ความเพียรฉันใด การที่เราจะทำอะไรให้ได้ดี และดีได้ ก็ย่อมแลกมาด้วยเวลาฉันนั้น เวลากับความเพียรจึงมักมาควบคู่กัน

– หากมอง 2 มุม หาเหตุผลที่หลากหลาย ว่าทำไม ท่านก็จะได้ คิด พิจารณา และสติ ปัญญาก็หาได้ไปไหนไกลไม่….

– สำหรับผู้ที่ทำงานและทำงาน นั้น มักจะมีความคิดและมีหลักการที่จะเห็นซึ่งอนาคต และหนทางต่อไปในภายภาคหน้า Just do it now. Tomorrow is come เทคโนโลยีง่ายสำหรับคนที่ศึกษา หากเข้าถึงแก่น ท่านก็จะได้เข้าถึงจุดที่แข็งที่สุด เปลือกไม้ภายนอกสวยงาม ขี้เหล่ฉันใด นั้นก็เพื่อหุ้มห่อความแข็งแกร่งและสวยงามของตัวมันเองฉันนั้น

– งานคือพลังงานที่สามารถขับเคลื่อนชีวิต หากไม่มีงาน เราก็ไม่มี งาน… ดังนั้นหากเรเชียงามีงานให้ทำก็ย่อมทำให้ชีวิตไม่อ้างว้าง ไม่เหงา ไม่เสียไปโดยไม่ได้งาน…

– เชียงราย เป็นจังหวัดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นดินแดนที่เชื่อมต่อไปยังนานาประเทศใกล้เคียง มีการติดต่อค้าขายกันนานาประเทศรอบข้าง ถือว่าทรัยากรต่างๆไม่ด้อยกว่าจังหวัดอื่นๆเลย ยิ่งด้านการท่องเที่ยวกับค้าขายแล้ว ถือว่าได้เปรียบในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก เชียงรายในปัจจุบันนี้ถือว่าไม่ได้ด้อยเลย ธุรกิจต่างๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากเราๆท่านๆ ช่วยกันสร้างและดูแลเชียงรายของเราให้ดีแล้วละก็ เชื่อได้เลยว่าสังคมของเชียงรายจะน่าอยู่และเรียบร้อยอย่างทุกวันนี้ไปอีกนานแสนนาน

แนวความคิดและความหมาย 750 ปีเมืองเชียงราย

รูปพระธาตุดอยตุงสีทอง
เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงราย
สื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันยาวนาน
จนถึง750ปีี

รูปพญามังราย
ซึ่งพญามังรายได้ก่อตั้งสถาปนาและ
ขนานนามเมืองเชียงรายในปี พ.ศ.๑๘๐๕ และเป็นปฐม กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

เลข 750 สื่อถึง
งานฉลองครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย โดยออกแบบเลข 750 เป็นลายไทยล้านนา และใช้สีม่วงอันเป็นสีประจำจังหวัดมาออกแบบ

 

 

ตราประจำจังหวัดเชียงราย
รูปช้างสีขาวใต้เมฆ

เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว
จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล
ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้
ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็น ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง
เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด

 

คำขวัญของจังหวัดเชียงราย

“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน     ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”

 

 

ธงประจำจังหวัดเชียงราย

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชื่อดอกไม้ดอกพวงแสด
ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Pyrostegia Venusta (ker) Miers
วงศ์ : Bignonia Ceae
ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ : ไม้เลื้อยต่างประเทศ
ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower, Fire – Cracder Vine

 

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ชื่อพันธุ์ไม้ กาสะลองคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงค์ Dignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ ปีปทอง, แคเป๊าะ, สำเนาหลามต้น, สะเภา, อ้อยช้าง, จางจืด
ประวัติความเป็นมาของต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาสะลองคำ เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในพิธีเปิดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์
ปีที่ 50 วันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

ความเป็นมาของตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อ
น้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส
จังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ
นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

ตุงผืนที่ ๑
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก

ตุงผืนที่ ๒
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน – สู่แผ่นฟ้า”
ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน

ตุงผืนที่ ๓
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล
ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม

 

คัดลอกจาก chiangrai.net