ปีที่ 40 ของการสำรวจดวงจันทร์

ครบรอบ 40 ปีของการสำรวจดวงจันทร์ ในปี คศ.1961 ประธานาธิบดี John F. Kennedy  ประกาศต่อสาธารนะชนว่า สหรัฐฯ จะไปเหยียบดวงจันทร์ก่อนสิ้นปี คศ.1970 ให้ได้ โครงการอวกาศของนาซ่าที่ชื่อว่า Apollo  จึงเกิดขึ้นต่อเนื่องกับโครงการ Gemini ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกเท่านั้น       จุดเริ่มต้นของโครงการอะพอลโล่ เริ่มต้นไม่ค่อยสวยนัก เมื่อยานอะพอลโล่ 1 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องบังคับการระหว่างการซ้อมที่ภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967  ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน คือ Roger Chaffee ,Virgil Grisson และ Edward White  เสียชีวิต นาซ่าจึงหยุดการส่งยานที่มีคนบังคับชั่วคราว โดยมีเพียงยานอะพอลโล่ 4,5 และ 6 ที่ไม่มีคนบังคับเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของจรวด Saturn ต่อจากนั้นนาซ่าก็เริ่มส่งอะพอลโล่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1968 ตามด้วย อะพอลโล่ 8,9 และ 10 ซึ่งมีมนุษย์บังคับ ขึ้นไปทดสอบการเดินไปยังดวงจันทร์แต่ยังไม่มีการลงดวงจันทร์       อะพอลโล่ 11 นับว่าเป็นโครงการอวกาศของนาซ่าที่ประสพผลสำเร็จมากที่สุด เมื่อสามารถส่งมนุษย์อวกาศลงไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 1969  ต่อจากนั้นก็มีอะพอลโล่ 12-17 ที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ แต่อะพอลโล่ 13 ไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ เพราะเกิดอุบัติระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ ทำให้ต้องรีบเดินทางกลับโลกก่อน ในอะพอลโล่ 15 มีการนำรถที่ชื่อว่า Lunar Rover ขึ้นไปใช้บนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ทำให้การสำรวจดวงจันทร์ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น อะพอลโล่ลำสุดท้ายคืออะพอลโล่ 17 เมื่อเดือนธันวาคม 1972 รวมอะพอลโล่ทั้งหมด…

สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552

เช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เส้นทางคราสเต็มดวงผ่านหลายประเทศในเอเชีย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย เราจึงจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีเมื่อเวลาประมาณตี 3 ของวันเดียวกัน และเกิดหลังจากที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด 2-3 สัปดาห์ ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุริยุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลามืดเต็มดวงยาวนานมาก สุริยุปราคาเริ่มต้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในเวลา 6:58 น. ตามเวลาประเทศไทย ตรงบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ศูนย์กลางเงามืดเริ่มแตะผิวโลกเมื่อเวลาประมาณ 7:53 น. ในบริเวณอ่าวแคมเบย์ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศตะวันตก ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 3 นาที 9 วินาที จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออก ผ่านเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 8:05 น. โดยผ่านเฉิงตูและนครเซี่ยงไฮ้ เงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออก พาดผ่านทางเหนือของหมู่เกาะริวกิวและอิโวะจิมะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น แล้วเริ่มบ่ายหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 6 นาที 39 วินาที โดยเกิดขึ้นในเวลา 9:29 น. ใกล้หมู่เกาะโบนิน นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ช่วงท้ายของปรากฏการณ์ เงามืดผ่านเกาะเล็ก ๆ ในหมู่เกาะมาร์แชล ก่อนจะสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 11:18 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 3 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาในวันนี้จะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์หลุดออกจากผิวโลกในเวลา 12:12 น. ใกล้เกาะวอลลิสและฟูตูนา ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ในมหาสมุทรแปซิฟิก แหล่งที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200907tse.html