ปีที่ 40 ของการสำรวจดวงจันทร์

ครบรอบ 40 ปีของการสำรวจดวงจันทร์

ในปี คศ.1961 ประธานาธิบดี John F. Kennedy  ประกาศต่อสาธารนะชนว่า สหรัฐฯ จะไปเหยียบดวงจันทร์ก่อนสิ้นปี คศ.1970 ให้ได้ โครงการอวกาศของนาซ่าที่ชื่อว่า Apollo  จึงเกิดขึ้นต่อเนื่องกับโครงการ Gemini ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกเท่านั้น 
     จุดเริ่มต้นของโครงการอะพอลโล่ เริ่มต้นไม่ค่อยสวยนัก เมื่อยานอะพอลโล่ 1 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องบังคับการระหว่างการซ้อมที่ภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967  ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน คือ Roger Chaffee ,Virgil Grisson และ Edward White  เสียชีวิต นาซ่าจึงหยุดการส่งยานที่มีคนบังคับชั่วคราว โดยมีเพียงยานอะพอลโล่ 4,5 และ 6 ที่ไม่มีคนบังคับเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของจรวด Saturn ต่อจากนั้นนาซ่าก็เริ่มส่งอะพอลโล่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1968 ตามด้วย อะพอลโล่ 8,9 และ 10 ซึ่งมีมนุษย์บังคับ ขึ้นไปทดสอบการเดินไปยังดวงจันทร์แต่ยังไม่มีการลงดวงจันทร์ 
     อะพอลโล่ 11 นับว่าเป็นโครงการอวกาศของนาซ่าที่ประสพผลสำเร็จมากที่สุด เมื่อสามารถส่งมนุษย์อวกาศลงไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 1969  ต่อจากนั้นก็มีอะพอลโล่ 12-17 ที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ แต่อะพอลโล่ 13 ไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ เพราะเกิดอุบัติระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ ทำให้ต้องรีบเดินทางกลับโลกก่อน ในอะพอลโล่ 15 มีการนำรถที่ชื่อว่า Lunar Rover ขึ้นไปใช้บนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ทำให้การสำรวจดวงจันทร์ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น อะพอลโล่ลำสุดท้ายคืออะพอลโล่ 17 เมื่อเดือนธันวาคม 1972 รวมอะพอลโล่ทั้งหมด 6 ลำที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ นำหินดวงจันทร์กลับโลกมาทั้งสิ้น 380 กิโลกรัม และการทดลองสำคัญๆต่างๆมากมาย
     ก่อนหน้านี้นาซ่ามีการส่งหุ่นยนต์สำรวจดวงจันทร์ระหว่างปี คศ.1961-1969 ได้แก่ 
     ยาน Ranger 1-9 มีหลายลำที่ผิดผลาด แต่ก็มีบางลำที่สามารถลงสัมผัสดวงจันทร์ และได้ถ่ายภาพของดวงจันทร์ไว้หลายพันภาพ
     ยาน Surveyor 1-7 ทั้งหมดสามารถลงสัมผัสดวงจันทร์และถ่ายภาพพื้นผิวมานับหมื่นภาพ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับโครงการอะพอลโล่
     ยาน Orbiter 1-5 เป็นยานในวงโคจรรอบดวงจันทร์ และไปลงสำรวจดวงจันทร์ด้านตรงข้ามกับโลก
     ยาน Luna 1-24  ของรัสเซีย โคจรรอบดวงจันทร์และบางลำก็ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์โดยไม่มีมนุษย์บังคับ

 

 

ลูกเรือของอะพอลโล่ 11 จากซ้ายไปขวา
1) นิล อาร์มสตรอง ( Neil A. Armstrong) ผู้บังคับการปฏิบัติการ  เกิดที่ Wapakoneta รัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1930 จบวิศวะการบินจากมหาวิทยาลัย Purdue เมื่อปี 1955 และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Southern California เมื่อปี 1970 เป็นนักบินสำรองของโครงการ Gemini 5,8 และ 11 และโครงการอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกผู้บริหารของสมาคมการบินที่นาซ่า ระหว่างปี 1970-1971

2)ไมเคิล คอลลิน (Michael Collins) ผู้บังคับการนำร่อง เกิดที่กรุงโรมในอิตาลี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1952 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 7 และ 10 และเป็นลูกเรือของยานอะพอลโล 8 แต่ถูกเปลี่ยนตัวภายหลัง ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนมกราคม 1970 

3) เอ็ดวิน บัส อัลดริน (Edwin E. Aldrin) ผู้บังคับการยานลูน่าโมดูล เกิดใน Montclair รัฐนิวเจอซี่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1951และจบปริญญาเอกจาก MIT เมื่อปี 1963 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 9 และ 12 และอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนที่สองที่เหยียบดวงจันทร์ ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนกรกฏาคม 1971

 

 

 

 

นับถอยหลัง
    ยานอะพอลโล่ 11 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดับ Saturn V (แซทเทิร์น ไฟว์) ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานในศูนย์อวกาศแคนเนดี้ รัฐฟอริดา ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1969 (พ.ศ.2512) และปล่อยจากฐานเมื่อเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

นับถอยหลัง
    ยานอะพอลโล่ 11 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดับ Saturn V (แซทเทิร์น ไฟว์) ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานในศูนย์อวกาศแคนเนดี้ รัฐฟอริดา ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1969 (พ.ศ.2512) และปล่อยจากฐานเมื่อเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

 

 

   
นับถอยหลัง
    ยานอะพอลโล่ 11 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดับ Saturn V (แซทเทิร์น ไฟว์) ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานในศูนย์อวกาศแคนเนดี้ รัฐฟอริดา ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1969 (พ.ศ.2512) และปล่อยจากฐานเมื่อเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
 

   หลังจากที่จรวดขับดัน Saturn V พุ่งออกจากฐาน จะใช้เวลาเพียง 11 นาที ก็จะอยู่ในวงโคจรนอกโลก เชื้อเพลิงของจรวด Saturn V  ส่วนแรกจะถูกใช้จนหมด แล้วจะถูกสลัดทิ้งลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค  จรวดท่อนที่ 2-3 จะจุดเชื้อเพลิงให้ยานโคจรรอบโลกอีก 1 รอบครึ่ง ระหว่างนี้ ยานบังคับการ (โคลัมเบีย) จะเชื่อต่อกับยานลูน่าโมดูล (อีเกิ้ล)  แล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของโลกเดินทางสู่ดวงจันทร์ ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีก 72 ชั่วโมง หรือประมาณ 3 วัน 

Related posts

Leave a Comment